วันพุธที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สถานที่ท่องเที่ยว


จังหวัด เชียงใหม่

อุทยานแห่งชาติออบขาน มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๔๘๔ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓๐๒,๕๐๐ ไร่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ ได้แก่ สะเมิง หางดง แม่วาง และสันป่าตอง ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินปูนและหินอัคนี ประกอบด้วยป่าประเภทต่าง ๆ ได้แก่ ดิบเขา สนเขา ดิบแล้ง เบญจพรรณ และ เต็งรัง เป็นต้นกำเนิดน้ำแม่วาง น้ำแม่วิน และน้ำแม่ขาน และที่นี่เป็นแหล่งที่พบเอื้องมณีไตรรงค์แห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งจะบานในช่วงเดือนมกราคม

สถานที่น่าสนใจในอุทยานฯ ได้แก่ ออบขาน มีลักษณะคล้ายออบหลวง เป็นช่องหน้าผา ชันแต่มีขนาดเล็กกว่าสูงประมาณ ๓๐ เมตรซึ่งมีแม่น้ำแม่ขานไหลผ่านกลาง และมีลักษณะเว้าแหว่งเป็นรูปทรงต่าง ๆซึ่งเกิดจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ

การเดินทาง จากเมืองเชียงใหม่ ใช้ถนนเลียบคลองชลประทาน ทางหลวงหมายเลข ๑๒๑ เป็นทางลาดยาง ไปทางอำเภอหางดงประมาณ ๑๕ กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาตามถนน รพช . สายน้ำแพร่- ออบขานไปอีก ๑๐ กิโลเมตร( เป็นทางลาดยาง สลับทางลูกรังมีความชันและโค้ง) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติออบขาน จากนั้นเดินต่อไปอีกประมาณ ๔๕๐ เมตร จะถึงออบขาน

ห้วยหญ้าไซ มีระดับน้ำค่อนข้างตื้น เหมาะสำหรับลงเล่นน้ำ บริเวณริมฝั่งมีหญ้าไซขึ้นปกคลุมเขียวขจีและออกดอกสวยงาม ถัดจากห้วยหญ้าไซไปเพียง ๕๐๐ เมตร มีผาเตี้ย ๆ เรียกว่า ผาตูบ ลักษณะเป็นชะง่อนหินใหญ่ที่ถูกสายน้ำกัดเซาะจนมีรูปร่างแปลกตาน่าชม ห้วยหญ้าไซอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ ๑ กิโลเมตร

สถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น ห้วยโป่งที่อยู่ห่างจากที่ทำการไปประมาณ ๒ กิโลเมตร สามารถลงเล่นน้ำได้ ผาลาย น้ำตกขุนป๋วย น้ำตกแม่เตียน ถ้ำดอยโตน น้ำพุร้อนแม่โต๋ น้ำตกมรกต น้ำตกแม่มูด น้ำตกขุนวิน น้ำตกแม่วาง และ ถ้ำตั๊กแตน ละมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่จัดไว้เหมาะสำหรับพาเด็กนักเรียนมาเข้าค่าย ธรรมชาติ

เวียงท่ากาน บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง เป็นเวียงเก่าแก่เวียงหนึ่งในสมัยหริภุญชัย สันนิษฐานว่าสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๓ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญชัยสืบต่อมาจนถึงสมัยพญามัง รายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ โบราณสถานที่สำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียน คือ วัดท่ากาน และวัดต้นกอก โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปดินเผา พระพิมพ์จำนวนมาก ไหเคลือบสีน้ำตาลบรรจุกระดูก เครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.๑๘๒๓-๑๙๑๑) และพระบุทองคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น